สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสสเทวมหาเถระ วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิม ?แพ? บิดาชื่อ
?นุตร์?มารดาชื่อ ?อ้น?ประสูติเมื่อวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล
ที่ ๔ ครอบครัวเป็นชาวสวนบางลำพูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรีทรงมีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน โดยพระองค์ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒
เมื่อพระชนม์มายุได้ ๗ พรรษาบิดาได้พามาฝากเป็นศิษย์พระธรรมวโรดม (สมบูรณ์)ที่วัดทองนพคุณเพื่อศึกษาอักษรสมัยครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ปีมะโรงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดราชบูรณะโดยตามพระธรรมวโรดมที่มาอยู่ที่วัดราชบูรณะเมื่อบรรพชาแล้วได้กลับไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดทองนพคุณตามเดิมและได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับท่านอาจารย์โพ วัดเศวตฉัตร (ภายหลังพระธรรมวโรดมได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต) ต่อมาเมื่อพระชนม์มายุได้ ๑๖พรรษาได้ตามสมเด็จพระวันรัต(สมบูรณ์)มาอยู่วัดพระเชตุพน ฯ ครั้นสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์)อาพาธใกล้ถึงมรณภาพได้แนะนำให้พระองค์ไปฝากตัวเป็นศิษย์พระเทพกวี (แดง)วัดสุทัศน์ฯ(ภายหลังพระเทพกวีได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต) เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเศวตฉัตร มีพระเทพกวี(แดง)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ ชุ่ม วัดทองนพคุณและพระอาจารย์โพ วัดเศวตฉัตร เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์แล้วกลับมาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์ที่วัดสุทัศน์ ฯและยังได้ศึกษากับสมเด็จพระสังฆราช สา วัดราชประดิษฐ์

เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ได้เปรียญ ๔ ประโยค ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรันตศาสดารามแปลได้อีก ๑ ประโยค รวมเป็น ๕ ประโยค พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ และได้เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นเทพในพระราชทินนามเดิมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงเลื่อนเป็นพระราชาคณะที่พระเทพโมฬี
พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเลื่อนเป็นพระธรรมโกษาจารย์
พ.ศ. ๒๔๕๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานหิ-
รัญญบัฏ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพรหมมุนี
พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพุฒาจารย์
พ.ศ. ๒๔๗๒ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ได้ทรงสถาปนาสมณ-
ศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต
ครั้นเมื่อสมเด็จพระสังฆราชชินวรณ์สิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๑ วัดราชบพิทธฯได้เสด็จสวรรคต จึงได้มีการประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยประกาศสถาปนาสมเด็จพระวันรัตขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๘ และในปีถัดมาในวันเฉิลมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดลรัชกาลที่ ๘ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสุพรรณบัฏ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า ?สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ฯ? เจ้าพนักงานได้เชิญพระสุพรรณบัฏ ไปส่งที่วัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๑๔ .๑๔ น.มีพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาพร้อมยกเศวตฉัตร แล้วโปรดเกล้าให้มีการสมโภชพระสุพรรณบัฏเวลา ๑๗ น.
ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช แพ ฯ ได้ประชวรคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนสุดความสามารถ พระอาการได้ทรุดหนักจนถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗เวลา ๐๓ น.ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ที่ตำหนัก วัดสุทัศน์เทพวราราม สิริพระชนม์มายุ ๘๙ ปีพรรษา ๖๖ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๗ พรรษา มีการบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานเพลิงศพเป็นการหลวง ณ. สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญของคณะสงฆ์ไทยอีกวาระหนึ่ง
พระเครื่องสำคัญที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช แพ ได้แก่พระกริ่งวัดสุทัศน์ สายพระสังฆราช แพ