ในงาน Japan Golf Fair จะต่างจากเมืองไทยในส่วนที่น่าสนใจ คือ งานแสดงสินค้ากอล์ฟในเมืองไทยจะเป็นการ
ขายสินค้าไม้กอล์ฟแบรนด์เนมที่ห้างใหญ่ๆ 2 ห้าง ต้องการเร่งยอดการขาย จึงสร้างงานแสดงสินค้าและทำการ
โปรโมทยิ่งใหญ่ และสร้างแรงดึงดูดด้วยการลดราคา ไม่มีแบรนด์ขนาดเล็กหรือการแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ
ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่มันจะต้องดำเนินไปในแนวทางนี้ เพราะเมืองไทยไม่มีแบรนด์ของไทยเองที่พัฒนาในประเทศ
ซึ่งก็กลับมาตรงจุดที่สำคัญคือ คนไทยไม่มีค่านิยมในการสนับสนุนสินค้าของไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ
เพราะอย่างในญี่ปุ่นต้องยอมรับว่าแบรนด์หลักๆจากฝั่งอเมริกาก็ยังเป็นที่นิยมอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่แบรนด์ญี่ปุ่น
เองอย่าง Srixon, Tourstage, Yamaha, PRGR และอีกหลายยี่ห้อ ก็เป็นที่ยอมรับเช่นกัน นอกจากนั้นยังมี
แบรนด์ญี่ปุ่นเล็กๆอีกเป็นร้อยที่เราไม่รู้จัก นี่คือสิ่งที่ดีมากในบรรยากาศของการสร้างสรรค์ ตัวอย่างง่ายๆ 2 คูหา
ข้างๆโรงแรมที่พัก ยังมีบริษัทไม้กอล์ฟญี่ปุ่นที่เชื่อว่านักกอล์ฟไทยน้อยคนจะรู้จัก เป็นเพียงออฟฟิศคูหาเล็กๆ
นี่คือธุรกิจกอล์ฟขนาดเล็กที่อยู่ได้ในญี่ปุ่น


ในตลาดกอล์ฟญี่ปุ่นเองพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้งานไม้กอล์ฟของนักกอล์ฟก็แตกต่างจากไทยอย่างสิ้นเชิง
ยิ่งเมื่อได้เข้ามาสัมผัสอย่างใกล้ ได้พูดคุยและได้เห็นพฤติกรรมของนักกอล์ฟญี่่ปุ่น ยิ่งทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ถึงพฤติกรรมที่แปลกและน่าสนใจที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากไทยอย่างสิ้นเชิง
เพราะนักกอล์ฟในแต่ละประเทศก็มีพฤติกรรมและยิ่งสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นถ้าเราจะรอแต่
จะเอาไม้กอล์ฟจากอเมริกาและญี่ปุ่นที่เขาออกแบบเพื่อนักกอล์ฟในบ้านเขามาใช้งาน ยังไงก็ไม่ดีเท่านักออกแบบที่ตั้งใจ
ออกแบบเพื่อคนไทยเองโดยเฉพาะ เพราะในรายละเอียดของการออกแบบแล้ว ในแง่ของ Culture นักกอล์ฟแต่ละประเทศ
มีสิ่งที่ชอบแตกต่างกัน นั่นคือในแง่ของความต้องการของนักกอล์ฟ และในแง่ของสภาพของสนามกอล์ฟ, สภาพอากาศ
และพันธุ์หญ้าที่เลือกใช้แตกต่างกันแน่นอน ดังนั้นถ้าผู้ออกแบบที่มีความสามารถในทั้งเชิงเทคนิคและศิลปะในการพัฒนาสินค้า ตามด้วยความเข้าใจในตลาดอย่างแท้จริง แล้วค่อยตามด้วยการตลาดเพื่อให้นักกอล์ฟได้รับรู้ถึงแบรนด์ สุดท้ายสิ่งที่อยู่ใน
มือของนักกอล์ฟจะเป็นไม้กอล์ฟเพื่อพวกเขาอย่างแท้จริง ไม่ใช่อย่างในปัจจุบันที่เอาการตลาดนำแล้วให้นักขายเชียร์
สุดท้ายก็เปลี่ยนไม้กอล์ฟกันไปเรื่อยๆและถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะบริษัทกอล์ฟต้องการยอดขายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันเป็นไปได้ยาก
เพราะบรรยากาศของตลาดมันเปลี่ยนไปจากเมื่อ 10 ปีก่อนอย่างสินเชิง ด้วยคู่แข่งที่มากขึ้นที่พยายามแบ่งเค้กก้อนเดียวกัน
การแข่งเรื่องราคาจึงรุนแรงมากๆจนสุดท้าย ตายกันหมด ถ้านักกอล์ฟลองสังเกตสินค้าไม้กอล์ฟในปัจจุบัน ที่มีราคาถูกลง
และภายใต้หน้าตาที่ดูเหมือนจะสวยงาม ความละเอียดปราณีตและคุณภาพของวัตถุดิบมันไม่ได้ดีอย่างไม้กอล์ฟในอดีต
เหมือนกับที่คุณเข้าไปจับจ่ายใน Discount Store ยักษ์ใหญ่อย่าง โลตุ๊ดหรือบิ๊กซี้ ในราคาสินค้าที่ดูเหมือนจะถูกแต่
ลองดูในรายละเอียดและคิดให้ดี สินค้าที่คุณได้คุณภาพลดลงหรือเปล่า ปริมาณของสินค้าที่คุณได้น้อยลงหรือเปล่า
นักธุรกิจต้องการกำไรเท่าเดิมหรือมากขึ้น นี่คือความจริงของโลก เพราะในกรณีปกติ "ของถูกไม่มีดีและของฟรีไม่มีในโลก"
..... ยังมีเรื่องต้องคุยกันอีกเยอะ
เมื่อวันก่อนมีคนที่เข้ามาอ่านแล้วชอบบทความที่ Mr.Yee เขียน จะเอาไปลงในสื่อของเขา เลยทำให้เอะใจว่าสิ่งที่เราตั้งใจ
ถ่ายทอดออกไปมันเป็นประโยชน์กับคนในวงกว้างกว่าที่คิด ... ชื่นใจ
=================================================
มหากาพย์เบื้องหลังอุปกรณ์กอล์ฟในประเทศญี่ปุ่น
http://www.teeintact.com/forum/index.php?topic=1318.0มหากาพย์ตอน 1 - ที่มาที่ไปของกีฬากอล์ฟในญี่ปุ่น
http://www.teeintact.com/forum/index.php?topic=1319.0มหากาพย์ตอน2 - ต้นกำเนิดไม้กอล์ฟในญี่ปุ่น
http://www.teeintact.com/forum/index.php?topic=1321.0มหากาพย์ตอน3 - ไม้กอล์ฟญี่ปุ่นในงาน Japan Golf Fair
http://www.teeintact.com/forum/index.php?topic=1324.0